วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

PLC คืออะไร

PLC คืออะไร?Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้
PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย
 ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง
    จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น

ประวัติ PLC
ค.ศ.1969
            PLCได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดย บริษัท Bedford Associates โดยใช้ชื่อว่า Modular Digital Controller(Modicon) ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ในอเมริกาชื่อ General Motors Hydramatic Division บริษัท Allen-Bradley ได้เสนอระบบควบคุมโดยใช้ชื่อว่า PLC
ค.ศ.1970-1979
            ได้มีการพัฒนาให ้PLC มีการประมวลผลที่เร็วมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของ Microprocessor ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ PLC โดยระบบแรกคือ Modbus ของ Modicon เริ่มมีการใช้อินพุท/เอาท์พุทที่เป็นสัญญาณ Analog
ค.ศ.1980-1989
            มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของ PLC โดยบริษัท General Motor ได้สร้างโปรโตคอลที่เรียกว่า manufacturing automation protocal (MAP) ขนาดของ PLC ลดลงเรื่อย ๆผลิตซอฟแวร์ที่สามารถโปรแกรม PLC ด้วยภาษา symbolic โดยสามารถโปรแกรมผ่านทาง personal computer แทนที่จะโปรแกรมผ่านทาง handheld หรือ programing terminal
ค.ศ.1990-ปัจัจจุบัน
           ได้มีความพยายามในการที่จะทำให้ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC มีมาตราฐานเดียวกันโดยใช้มาตรฐาน IEC1131-3 สามารถโปรแกรม PLC ได้ด้วย
                    - IL (Instruction List)
                    - LD (Ladder Diagrams)
                    - FBD (Function Block Diagrams)
                    - SFC (Sequential Function Chart)
                    - ST (Structured Text)

โครงสร้างโดยทั่วไปของ PLC
ลักษณะโครงสร้างภายในของ PLC ซึ่งประกอบด้วย

1.ตัวประมวลผล(CPU)
          ทำหน้าที่คำนวณเเละควบคุม ซึ้งเปรียบเสมือนสมองของ PLC ภายในประกอบด้วยวงจรลอจิกหลายชนิดและมีไมโครโปรเซสเซอร์เบส (Micro Processor Based)ใช้แทนอุปกรณ์จำพวกรีเลย์ เคาน์เตอร์/ไทม์เมอร์ และซีเควนเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถออกแบบวงจรโดยใช้ Relay Ladder Diagram ได้ CPU จะยอมรับข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุทต่างๆ จากนั้นจะทำการประมวลผลและเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจากหน่วยความจำ หลังจากนั้นจะส่งส่งข้อมูลที่เหมาะสมและถูกต้องออกไปยังอุปกรณ์เอาท์พุท
2.หน่วยความจำ(Memory Unit)
          ทำหน้าที่เก็บรักษาโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน โดยขนาดของหน่วยความจำจะถูกแบ่งออกเป็นบิตข้อมูล(Data Bit) ภายในหน่วยความจำ 1 บิต ก็จะมีค่าสภาวะทางลอจิก 0 หรือ 1แตกต่างกันแล้วแต่คำสั่ง ซึ่ง PLC ประกอบด้วยหน่วยความจำสองชนิดคือ ROM และRAM
          RAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้และข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้เพื่อใช้เป็นไฟเลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและการเขียนข้อมูลลงใน RAM ทำได้ง่ายมาก  เพราะฉะนั้นจึ่งเหมากับงานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมอยู่บ่อยๆ
          ROM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ตามโปรแกรมของผู้ใช้ หน่วยความจำแบบ ROM ยังสามารถแบ่งได้เป็น EPROM ซึ่งจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีแบบ EEPROM หน่วยความจำประเภทนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม สามารถใช้งานได้เหมือนกับ RAM แต่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่สำรอง แต่ราคาจะแพงกว่าเนื่องจากรวมคุณสมบัติของ ROM และ RAM ไว้ด้วยกัน
3.หน่วยอินพุต-เอาต์พุต (Input-Output Unit)          หน่วยอินพุต ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกแล้วแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมแล้วส่งให้หน่วยประมวลผลต่อไป


หน่วยเอาต์พุต ทำหน้าที่รับข้อมูลจากตัวประมวลผลแล้วส่งต่อข้อมูลไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเช่น ควบคุมหลอดไฟ มอเตอร์ และวาล์ว เป็นต้น



4.แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
          ทำหน้าที่จ่ายพลังงานและรักษาระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้กับ CPU Unit หน่วยความจำและหน่วยอินพุท/ เอาท์พุท
5.อุปกรณ์ต่อร่วม (Peripheral Devices)          • PROGRAMMING CONSOLE
          • EPROM WRITER
          • PRINTER
          • GRAPHIC PROGRAMMING
          • CRT MONITOR
          • HANDHELD
          • etc
PLC ทำ งานอย่างไร?

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิดีโอเครื่องจักร CNC

สาธิตการแกะสลักรูปปืนเอ็ม ด้วยเครือง CNC  จากเครื่องแกะสลัก CNC นอกจากนี้เครื่อง CNC ยังสามารถ แกะบล็อคพระ แกะลายประตู หน้าต่าง หรือป้ายชื่อข้าราชการ อื่นๆ ซึ่งงานจะออกมาปราณีตสวยงาม 

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายชื่อสมาชิกในห้อง

อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค อาจารย์ผู้สอน
นาย วิทวัส ประยูรสัมพันธ์   ป๋อง
นาย สมชาย แก่นแก้ว   ชาย
นาย สาธิต จันทขวัญ  บิณฑ์
นางสาว ปิยนุช โพธิ์ถึง นุช
นางสาว เกษศิรินทร์ ปิ่นทองพันธ์ อ้อม

เทคโนโลยีการสื่อสาร


หันมาเลือกใช้ไอทีกรีนเทคโนโลยี ช่วยลดปัญหาโลกร้อน
หากได้อ่านข่าวเล็กๆ จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 12 ก.ย.2550 ที่หัวข่าวระบุว่า เหตุจากทะเลน้ำแข็งลดลง หวั่นหมีขั้วโลกจะตาย เป็นเบือ รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) คาดว่าช่วงระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษหน้านั้น หมีขั้วโลกจะหายไปจากชายฝั่งทางตอนเหนือของอลาสกา และรัสเซีย และสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัยแถบขั้วโลกเหนือไปถึง 42% โดยบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่จำเป็นแก่การอยู่อาศัยในฤดูร้อนในบริเวณ โพลาร์เบซิลที่หมีขั้วโลกจะใช้เป็นที่ออกล่าหาอาหารและเพาะพันธุ์ ทั้งยังคาดประมาณว่าหมีขั้วโลกจะมีชีวิตอยู่ได้แค่อีก 30 ปี
รายงานดังกล่าวแจ้งว่า ความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตกับน้ำแข็งในทะเลนั้น จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียประชากรหมีขั้วโลกราว 2 ใน 3 ของประชากรหมีขั้วโลกในขณะนี้ ในราวกลางศตวรรษที่ 21” แล้วข่าวนี้เกี่ยวอะไรกับวงการไอที คำตอบก็ คือ เกี่ยวกันแน่นอนจากข่าวที่ยกมานั้นเป็นผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) หากท่านผู้อ่านเคยชภาพยนตร์ “AnInconvenient Truth”ของนายอัลกอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแล้ว ส่วนหนึ่งได้เล่าไว้ถึงเรื่องหมีขั้วโลกที่จะต้องตาย เพราะว่ายน้ำเพื่อหาแผ่นน้ำแข็งในระยะทางที่ไกลจนเหนื่อยแล้วจมน้ำ
การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมมีการใช้พลังงานที่สูง หากมีการใช้งานจำนวนมากๆ ก็ย่อมกินพลังงาน และปล่อยความร้อนออกมาก โดยเฉพาะตามดาต้า เซ็นเตอร์ หรือเซิร์ฟเวอร์ฟาร์มของบริษัทใหญ่ๆ ที่ปริมาณความร้อนสูงก็ย้อมต้องใช้เครื่องปรับอากาศจำนวนมาก เพื่อทำให้ระบบเย็นลง กลายเป็นการใช้ไฟฟ้าจำนานมาก และการผลิตไฟฟ้าก็ต้องใช้พลังงานเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นเหตุของปัญหาโลกร้อน ทั้งนี้ตัวหมีขั้วโลกนี่เองที่ทาง บริษัท ไอบีเอ็ม ยักษ์สีฟ้าของวงการไอทีนำเอามาเป็น สัญลักษณ์ของการรณรงค์สร้างจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน
หนึ่งในแผนการแก้ปัญหาโลกร้อนที่ทางบริษัท ไอบีเอ็ม ได้ประกาศออกมา และดำเนินการแล้ว คือ การผนวกรวมคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ราว 3,900 เครื่องไว้บนเมนเฟรม ตระกูล System z ราว 30 เครื่อง ที่รันระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) ตามโครงการปรับเปลี่ยนดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก โดยไอบีเอ็มคาดการณ์ว่าสภาพแวดล้อมเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่นี้ จะใช้พลังงานน้อยกว่าระบบที่มีอยู่ประมาณ 80% และคาดว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซอฟต์แวร์ และการสนับสนุนระบบได้อย่างมากในช่วงเวลา 5 ปี ขณะเดียวกันการปรับเปลี่ยนดังกล่าว จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีของไอบีเอ็มมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมทั้งสามารถรองรับสภาพธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลจากบริษัท ไอบีเอ็ม ระบุว่า โครงการปรับเปลี่ยนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Project Big Green ที่ได้เปิดตัวเมื่อเดือน พ.ค.2550 ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการใช้พลังงานอย่างเป็นรูปธรรมสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ของไอบีเอ็มและลูกค้า ด้วยพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์กว่า 8,000,000 ตารางฟุต (เท่ากับสนามอเมริกันฟุตบอล 139 สนาม) ไอบีเอ็มต้องบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด และซับซ้อนที่สุดในโลก โดยดาต้าเซ็นเตอร์หลักๆ อยู่ในนิวยอร์ก คอนเนคติกัต โคโลราโด สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
ไอบีเอ็มคาดว่าโครงสร้างพื้นฐานแบบใหม่ที่ครอบคลุมทั่วโลกนี้จะรองรับผู้ใช้ได้กว่า 350,000 ราย และจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับความพยายามอย่างต่อเนื่องของไอบีเอ็มในการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่ก้าวล้ำสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1997 เป็นต้นมา ไอบีเอ็มได้ผนวกรวมดาต้าเซ็นเตอร์สำคัญๆ ทั่วโลกจาก 155 แห่ง จนเหลือเพียง 7 แห่ง
ข้อมูลจากบริษัท ไอบีเอ็ม ระบุอีกว่า โครงการผนวกรวมนี้จะใช้ประโยชน์จากความสามารถของเมนเฟรมหนึ่งเครื่อง ในการทำงานได้เหมือนกับเซิร์ฟเวอร์หลายร้อยหรือหลายพันเครื่อง ด้วยการทำ เวอร์ช่วลไลเซชั่น (Virtualization) เป็นเทคโนโลยีที่ไอบีเอ็มนำมาใช้เป็นครั้งแรก บนเครื่องเมนเฟรมเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว โดยทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรระบบของเมนเฟรม เช่น ส่วนประมวลผล ระบบเครือข่าย สตอเรจ และหน่วยความจำ ให้แก่เซิร์ฟเวอร์แบบ เสมือนจริง” (Virtual) หลายๆ เครื่อง เซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงแต่ละเครื่องจะทำหน้าที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์แบบกายภาพ ระบบที่ถูกโยกย้ายจะใช้เพียงแค่ส่วนเล็กๆ ของเมนเฟรมแต่ละเครื่อง อันจะทำให้เหลือพื้นที่ว่างจำนวนมาก สำหรับการขยายตัวในอนาคต
ขณะที่ บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ที่เพิ่งฉลองครบรอบ 25 ปี ก็ได้ประกาศแผนการลดการใช้พลังงาน และการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะจากการคาดการณ์ของ บริษัท ไอดีซี ระบุว่า ในปี ค.ศ.2010-2015 ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ จะมีค่าใช้จ่ายพลังงานมากในสัดส่วนที่มากกว่าค่าอุปกรณ์ เนื่องจากราคาของอุปกรณ์รุ่นใหม่มีราคาถูกลง ขณะที่อุปกรณ์รุ่นเก่าทั้งเซิร์ฟเวอร์ และสตอเรจยิ่งเก่าก็ยิ่งกินไฟ เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทั้ง 7 วัน สิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวที่ทำให้ซันต้องออกมามองเรื่องความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น
นายสุธรรม ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาและการขายผ่านพันธมิตร บ.ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทสไทย) จำกัด อธิบายว่า จากรายงานของ บริษัท การ์ทเนอร์ ระบุว่า ในปี 2551 การลงทุนของดาต้าเซ็นเตอร์จะเป็นส่วนของพลังงาน และระบบทำความเย็นมากถึง 50% ตามความต้องการใช้งานอุปกรณ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ค่าไฟฟ้าก็จะเป็นสัดส่วนที่ 10% ของงบประมาณด้านไอทีทั้งหมด โดยสิ่งที่จูงใจให้ลูกค้าองค์หันมาใช้พลังประมวลผลที่คุ้มค่า คือ การลดค่าใช้จ่าย แต่งานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดความเสียงจากกฎระเบียบควบคุมของภาครัฐ และลดความต้องการใช้งานในภาวะที่ทรัพยากรระบบมีจำกัด ทั้งหมดนี้นำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดการใช้งานเชื้อเพลิงจากไฮโดรคาร์บอน
ผอ.ฝ่ายการพัฒนาและการขายฯ บ.ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อธิบายต่อว่า เป้าหมายของซันในโครงการรับผิอดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสร้างสำนักงานที่เป็น Eco-Computing ซันจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกซืด อีก 30,000 ตันหรือลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงอีก 20% ภายในปี ค.ศ.2012 จากปี 2551 พร้อมทั้งก้าวเป็นผู้นำในนวัตกรรมประหยัดพลังงาน ทั้งการใช้เทคดนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น บนเทคโนโลยีจาวา และโซลาริส เพื่อลดปริมาณการใช้เครื่องลง
นายสุธรรม อธิบายเพิ่มเติมว่า การออกแบบโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ และยังนำเอาซีพียูแยบบดูอัลคอร์มาใช้ ทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์กินไฟลดลงทั้งโพรเซสเซอร์ UltraSparcของซันเอง หรือของผู้ผลิตรายอื่น เช่น อินเทล และเอเอ็มดี ในส่วนของการจัดเก็บข้อมูลบนสตอเรจ ก็มีการนำเอาเทคโนโลยีมาบริหารข้อมูลที่จัดเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และสุดท้าย คือ การที่ซัน นำเอาบริการเพื่อสังคมผ่านเว็บไซต์ www.network.comที่เป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่ให้ดาต้า เซ็นเตอร์ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีกริดคอมพิวติ้ง สาธารณะ ในการใช้ประมวลผลงานวิจัย ที่ซันจะเป็นผู้สนับสนุนให้ก่อนในเรื่องนี้
ส่วนอีกหนึ่งยักษ์ที่ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีประหยัดพลังงานมาสม่ำเสมออย่าง บริษัท ฮิวเลตต์แพคการ์ด หรือเอชพี ก็มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในแนวคิด กรีนสตอเรจขึ้นมาเช่นกัน นายจิมแวกสตาฟ รองประธานหน่วยธุรกิจ StorageWorks Division ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิคและญี่ปุ่น อธิบายว่า หากดูจากข้อมูลที่เอชพีได้มาจะพบว่า ขณะนี้ ดาต้าเซ็นเตอร์ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 5 เท่าตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นการเพิ่มตามกฎของมัวร์ การที่ค่าใช้จ่ายพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นงบประมาณก้อนใหญ่ แต่งบประมาณนี้ถูกใช้ไปเพื่อทำความเย็นให้กับดาต้าเซ็นเตอร์มากกว่า การใช้เพื่อซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาทำงานถึง 60-70% ส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลคิดเป็นแค่ 13% ของค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ข้อมูลจากบริษัท วิเคราะห์ StorageIO Group พบว่า ปัจจุบันสตอเรจเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานถึง 37-40% จากพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ แต่ด้วยผลิตภัณฑ์สตอเรจตัวใหม่จากเอชพี ลูกค้าที่ต้องจ่ายค่าไฟสำหรับสตอเรจ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือนจะสามารถประหยัดไฟที่ใช้เป็นพลังงานและใช้ในระบบระบายความร้อนได้มากถึง 18,000 เหรียญสหรัฐต่อปี
รองประธานหน่วยธุรกิจ StorageWorks Division เอชพี อธิบายเสริมว่า เพื่อให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีที่ประหยัดพลังงาน เอชพีช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดการกับระบบ และการบริการได้อย่างรอบด้าน วิธีการอันหลายหลายของเอชพี ที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ เพิ่มความหนาแน่นของระบบจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น ล่าสุดเอชพีจึงมีผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ตามแนวคิดกรีนสตอเรจที่ใช้นวัตกรรม Enterprise Virtual Arry: EVA มาช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการทำความเย็นลดถึง 50% เพื่อให้ ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น 24% และลดความเสี่ยงจากความล้มเหลวของระบบ
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้ต้องการจะกระตุ้นให้องค์กรต่างๆ หันมาซื้ออุปกรณ์ หรือลงทุนปรับปรุงศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ ให้เป็นของใหม่รุ่นล่าสุดแต่อย่างใด เพียงแต่อยากให้เห็นถึงประโยชน์จากการทำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ และผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะเกิดขึ้น รวมถึงสะท้อนแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ทุกองค์กรจะต้องจ่ายในอนาคต
โดยหากยังปล่อยให้ปัญหาความร้อนและการใช้พลังงานสิ้นเปลื้องอยู่ต่อไป ก็ย่อมจะกระทบต่อการใช้ไฟฟ้า ที่ต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิต และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นตาม ปัญหาโลกร้อนก็จะไม่ได้รับการเยียวยา ปล่อยให้โลกร้อนต่อไป ก็ลองคิดดูว่าถ้าหมีขั้วโลกยังจมน้ำตาย แล้วมนุษย์คนเดินดินธรรมดาจะไปเหลืออะไร...

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

นายวรวุฒิ อักษรนำ
รหัสประจำตัว 5557051094
โปรแกรมวิชา เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม 
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
โทร 082 - 8121084